เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
5111207444 ค.บ.511(5)/5 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บันทึกครั้งที่ 16

วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553
วันสุดท้ายของการเรียนการสอน รายวิชา...การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. สอบปลายภาคเกี่ยวกับเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
2. ประเมินสะท้อนอาจารย์


^_^

บันทึกครั้งที่ 15

วันพุธที่ 29 กันยายน 2553
1. ส่งข้อสอบเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้ Power Point
- การส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
- สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
- บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศสาตร์
- ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและน่าสนใจ
- สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
- บทบาทของครูอนุบาลในฐานะครูวิทยาศาสตร์
- การสอนวิทยาศาสตร์ครูจะต้องเตรียมสิ่งใดบ้าง
3. ให้นำงานไปปรับปรุงแก้ไข พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา
^_^

บันทึกครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 22 กันยายน 2553
1. อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ต้องอ้างอิงเอกสารตำรา แหล่งที่มาเกี่ยวกับบทความ
2. อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมโดยการใช้สื่อ Power Point เกี่ยวกับเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ และเรื่องกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
3. อาจารย์มอบหมายข้อสอบ "เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์" พร้อมกับให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

^_^

บันทึกครั้งที่ 13

วันพุธที่ 15 กันยายน 2553
1. แจกเอกสารเกี่ยวกับบทความ ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น 11 ข้อ
2. จับกลุ่มร่วมกันระดมความคิดแตกประเด็นจากหน่วยเรื่องผลไม้ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความสมบูรณ์ขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อที่จะสามารถต่อยอดการเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไปได้ และร่วมกันวางแผนให้สอดคล้องตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8 กระบวนการ ได้แก่
- การสังเกต
- การวัด
- การจำแนกประเภท ต้องกำหนดเกณฑ์
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
- การคำนวณ
- การจัดกระทำข้อมูล และการสื่อความหมาย
- การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- การพยากรณ์


^_^

บันทึกครั้งที่ 12

วันพุธที่ 8 กันยายน 2553
1. นำเสนอการสรุปผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ (น้ำ อากาศ แสง เสียง) ในงานวันวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
อาจารย์แนะนำเพิ่มเติม (มหัศจรรย์ของน้ำ)
- ควรมีการใช้คำถามเชิญชวน สังเกตการเปลี่ยนแปลง ตั้งสมมติฐาน
- ให้เด็กทดลอง ลองทำดู ลงมือปฏิบัติหลายๆ ครั้ง หลายๆ คน
- สรุปการเปลี่ยนแปลง
2. วิเคราะห์รูปแบบการจัดงานวันวิทยาศาสตร์
- การคละอายุที่หลากหลายในกลุ่มเดียวกันไม่เหมาะสม เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน พัฒนาการต่างกัน
- ต้องมีสื่อที่หลากหลาย
- กิจกรรมมีการบูรณาการ
3. ให้แบ่งกลุ่มตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ คิดหัวข้อเรื่อง
- ผลไม้
- สัตว์โลกน่ารัก
- ร่างกายของฉัน
- ผัก

^_^

บันทึกครั้งที่ 11

วันพุธที่ 1 กันยายน 2553
อาจารย์นัดหมายให้นำโครงการกิจกรรมวิทยาศาสตร์ (น้ำ อากาศ แสง เสียง) ไปจัดในงานวันวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2553 เวลาประมาณ 09:00 - 10:00 น.

^_^

บันทึกครั้งที่ 10

วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553
1. นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละกลุ่ม
- ที่ใส่ของจากกล่องรองเท้า
- โคมไฟ และกล่องดูดาว
- หุ่นโชว์ และเครื่องเคาะจังหวะ
- กระเป๋าจากกล่องเหลือใช้
2. นำเสนอการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม
- น้ำ
- แสง
- อากาศ
- เสียง
ข้อแนะนำ การจัดกิจกรรมต้องมีสรุปและการตั้งสมมติฐาน
^_^

บันทึกครั้งที่ 9

วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553
ไปเข้าค่ายและศึกษาดูงานที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

^_^

บันทึกครั้งที่ 8

วันพุธที่ 11 สิงหาคม 2553
ไม่มีการทำการเรียนการสอน
เนื่องจาก...สอบกลางภาค

^_^

บันทึกครั้งที่ 7

วันพุธที่ 4 สิงหาคม 2553
ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจาก..มีกิจกรรมไหว้ครูและบายศรีของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย



^_^

บันทึกครั้งที่ 6

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2553
- ชมวีดีทัศน์เรื่อง "มหัศจรรย์ของน้ำ"
1. การทดลองการปั่นผลไม้ ในการทดลองนี้จะฝึกให้เด็กสังเกต มีการใช้คำถามเชื่อมโยงให้เห็นการเก็บน้ำของอูฐและต้นกระบองเพชร
2. การทดลองน้ำแข็ง (น้ำเปลี่ยนสถานะ) เกิดการควบแน่นและเชื่องโยงไปถึงการเกิดของฝน ในการเกิดฝนเกิดจากพลังจากแสงอาทิตย์ลงมายังผิวน้ำ ผิวน้ำก็กลายเป็นไอเกิดการรวมตัวเป็นก้อน ทำให้ท้องฟ้าเย็นจนกลายเป็นเม็ดฝน
3. การทดลอง น้ำใส่แก้วแล้วแช่เย็น ความหนาแน่น ในธรรมชาติแล้วสสารในโลกจะมีโมเลกุลเมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็งน้ำจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 12 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นเมื่อเทน้ำไปใส่แก้วแล้วแช่เย็นเมื่อแข็งตัวน้ำในแก้วก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
4. การทดลองแครอทใส่ในแก้ว เกิดความหนาแน่นระหว่างน้ำเกลือกับน้ำเปล่า แต่เกลือจะมีความหนาแน่นมากกว่า จะสังเกตได้ว่าเมื่นำแครอทลงในน้ำเปล่าจะปรากฏว่าแครอทจะจม แต่เมื่อเทน้ำเกลือลงไปจะสังเกตได้ว่าแครอทจะลอยขึ้นมา นั่นก็เป็นเพราะว่า เกลื่อมีความหนาแน่นมากกว่า เกลือจึงดันให้แครอทลอยขึ้น
5. การตกของน้ำแข็ง ในการทดลองนำผ้าก็อตวางลงบนน้ำแข็งแล้วใช้เกลือโรยจะปรากฏว่าน้ำแข็งจะติดผ้าก็อตขึ้นมา ก็เป็นเพราะว่าเกลือจะดูดความร้อนจากบริเวณที่ใกล้ จึงทำให้น้ำแข็งติดกับผ้าก็อต
6. การทดลองแรงดันจากการเจาะรูจากขวด (ถ้าบริเวณที่มีส่วนลึกน้ำก็จะมีแรงดันมากกว่าบริเวณที่ตื้นกว่า) อากาศจะเข้ไปแทนที่น้ำจึงทำให้น้ำออกมาจากขวด จะเปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนบริเวณที่อยู่ลึกกว่าจะต้องมีความหนามากกว่าบริเวณที่ตื้น มิฉะนั้นแรงดันบริเวณที่ลึกจะทำให้เขื่อนพังลงมาได้

- แบ่งเป็น 4 กลุ่ม (น้ำ อากาศ แสง เสียง) โดยจะต้องมีกิจกรรมการทดลอง อธิบาย และการทำของเล่น


^_^

บันทึกครั้งที่ 5

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553
นำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว
1. โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน


ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- เพื่อนเกิดความตระหนักในการใช้ถุงผ้า
- ควรปรับตัวหนังสือใน Power Point
- มีแหล่งข้อมูลพื้นฐาน
อาจารย์สะท้อนเรื่อง
- ความความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อน
- การเขียนงบประมาณต้องมี 3 ส่วน คือ งบใช้สอยค่าอาหาร งบวัสดุ งบครุภัณฑ์
2. โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- มีการยกตัวอย่างรูปภาพและอธิบาย (ภาพขยะเต็มหน้าบ้าน ขยะในแม่น้ำ โลกป่วย ขวดพลาสติก กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก)
- รูปภาพเล็ก น่าจะนำใส่ Power Point
- ไม่มีแหล่งข้อมูลความรู้
- ควรมีการเกริ่นนำ
อาจารย์แนะนำ
- รูปแบบวิธีการนำเสนอ (การนั่งอภิปราย การนำเสนอแบบพิธีกร)
- การใช้สื่อ ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงไม่สอดคล้อง
3. โครงการถังขยะอัจฉริยะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- การนำเสนอให้เป็นธรรมชาติ ไม่อ่านทุกตัวอักษร
- เนื้อหาไม่สอดคล้อง
- ระบุระยะเวลาดำเนินการ
4. โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัย
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- ความเชื่อมโยงของเนื้อหา
- กิจกรรมซ้ำ
5. โครงการคลายโลกร้อนด้วยมือน้อย
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- รายละเอียดไม่ชัดเจน
- เพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูล
อาจารย์มอบหมายงาน

- ภาวะโลกร้อน สาเหตุ วิธีลดภาวะโลกร้อน พร้อมแหล่งที่มา
- กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนที่แปลกใหม่ (งานกลุ่ม)
- นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม)

^_^

บันทึกครั้งที่ 4

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2553
1. นำเสนอโครงการของแต่ละกลุ่ม
- โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
- โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน
- โครงการประดิษฐ์ตะกร้าจากกล่องนม
- โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
- โครงการถังขยะอัจฉริยะ
2. สั่งงาน ให้แต่ละคนหาชิ้นงาน "ศิลปะสอนวิทยาศาสตร์"
3. นัดหมายการเรียนครั้งต่อไป เวลา 09.00 น.

^_^

บันทึกครั้งที่ 3

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2553
1. ตัวแทนแต่ละกลุ่ม นำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
- ถุงผ้าลดโลกร้อน (4 ปี)
- ขยะรีไซเคิล (3 ปี)
- เรียงรูปภาพการตัดไม้ทำลายป่า (5 ปี)
- ชุดจากถุงขนม รองเท้าจากขวดน้ำ (4 ปี)
- ทำความสะอาด เก็บขยะ แยกขยะ (5 ปี)
2. จากนั้นอาจารย์สรุป อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม
3. อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มจัดทำโครงการของกิจกรรมที่นำเสนอ

^_^

บันทึกครั้งที่ 2

วันพุธที่ 30 มิถุนายน 2553
- การทำ Blog
- การแต่งกาย รองเท้า ทรงผม
- ข้อตกลงในการเรียน เวลาเข้าเรียน
เนื้อหาที่เรียน
1. นิยามเด็กปฐมวัย
2. เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3. ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
4. ทบทวนบทบาท
5. ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
สรุป ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ทำให้เด็กได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และตัวของเด็กเองด้วย ในการทำงานของสมองเมื่อมีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ถ้าเด็กมีพื้นฐานความรู้เดิมอยู่แล้วบ้าง แล้วได้รับความรู้สิ่งใหม่ๆ เข้ามา ทำให้เด็กมีความรู้ใหม่ มีการปรับพฤติกรรม ปรับตัว จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดในสังคมต่อไป
- แบ่งกลุ่ม 5 คนสรุปความรู้
- มอบหมายงานกลุ่ม 5 คน ให้หากิจกรรมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน

^_^

บันทึกครั้งที่ 1

วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553
- ขออนุญาตอาจารย์ไปเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัย
- ไม่ได้เข้าเรียน ให้จัดทำ Blog

^_^